ตำนาน "พระปิดตา" ทำไมพระจึงปิดตา..






พระปิดตาทำไม ?
                ท่านคงเคยเห็นรูปแบบของพระกรุ หรือพระเครื่องที่ออกให้บูชาในรุ่นต่างๆ ในรูปองค์แบบ ปิดตา” บางท่านที่ไม่อยู่ในวางการพระเครื่อง หรือยังไม่ได้ศึกษา เราจะมาเผยแพร่ให้ท่านลองศึกษาดูนะครับ
ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตาก็คือ การปิด "ทวาร"หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งเราชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์(หรือสัตว์) มี "ทวาร" หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออก ๙ ทาง ได้แก่ ตา ๒ / จมูก ๒ / หู ๒ / ปาก ๑ / รวมทั้ง ช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและ ด้านหลังอีก ๒ รวมเป็น ทวารทั้ง ๙ 
                การปิดกั้นทวารทั้ง ๙ เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายในเพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา (หรือปิดทวาร)ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น
                ประวัติการสร้างพระปิดตาในสยามประเทศนั้น เริ่มต้นในยุคอยุธยาตอนปลายจากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่านอ.สรรคบุรี จ.ชัยนาทต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆเช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี                 การสร้างพระปิดตาเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมามีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว เช่นพระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตาวัดหนัง พระปิดตาวัดทองพระปิดตาหลวงปู่ศุข พระปิดตาแร่บางไผ่ และ พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เป็นต้น
          
จากข้อมูลดังกล่าวอาจได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าพระปิดตาทั้งหมดเป็นพระปิดตาคณาจารย์ซึ่งหมายถึงพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้จัดสร้างไม่ใช่เป็นพระกรุที่สร้างโดยเจ้าพระยามหากษัตริย์แม้แต่กรณีพระปิดตาท้ายย่านก็น่าจะจัดอยู่ในลักษณะเดียวกันและไม่มีการสร้างก่อนสมัยอยุธยาตอนปลาย                 ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม"แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้
                แต่การสร้างรูปจำลองในลักษณะนี้ ค่อนข้างยากต่อการออกแบบส่วนใหญ่จึงพบการแสดงความหมายให้เห็นเพียงการปิดพระพักตร์ซึ่งรวมถึงการปิดปากเท่านั้น หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองจะพบว่าอำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง "อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างของบทบาทดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในกรณีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรีที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว หรือแม้แต่การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จุดไต้ตอนกลางวันเข้าไปเตือนพระสติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ "พุทธจักร" ที่มีต่อ "อาณาจักร" อย่างเด่นชัด                 เป็นที่น่าสังเกตว่าพระเกจิอาจารย์ที่สร้างพระปิดตาในระยะแรกๆจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนักไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ สมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ทับ เป็นต้น ดังนั้น "พระปิดตา"อาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ "อาณาจักร"เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมือง
         
ในระยะเวลาต่อมา คติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวารเกี่ยวเนื่องกันเรื่อยมามีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ย ซึ่งได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ พระสังกัจจายนะ หรือพระภควัมบดี อัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธองค์ พระภควัมบดี หรือพระมหาสังกัจจายน์ นั้น ไม่ใช่รูปสมมติแทนองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า"อันเป็นอีกนามหนึ่งของพระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอกทัคคะ (เป็นเลิศ)๘๐ รูป ของพระพุทธองค์ พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนีมีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน"และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) พระมหาสังกัจจายนะท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลงและอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง                 นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมาก จนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ"อันมีความหมายว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า"                ความงดงามแห่งรูปกายนี้เองก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้นทำให้พระมหาสังกัจจายนะเกิดสลดสังเวชในใจพิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงามก่อให้เกิดทุกข์มากมายท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างกลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ยศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้วผลแห่งกุศลในอดีตชาติยังส่งให้พระสังกัจจายน์เป็นที่รักใคร่นิยมยินดีมีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญตลอดมามิมีขาด
         
ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นโดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติอันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลายลักษณะ อาทิ

พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ
พระปิดตาทวารทั้ง ๙ อัน เป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง ๙ ของร่างกาย
พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงในกระบวนพระปิดตาของคณาจารย์แต่โบราณนั้น มีที่ขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกันวัสดุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระมีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรักเนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น
นิยามคำว่าพระปิดตา
พระปิดตาความจริงไม่มี แต่นิยมเรียกกันมานานจนชินปาก "พระปิดตา"ลักษณะขององค์พระท่านเป็นการยกพระหัตถ์ ปิดพระพักตร์ มิใช่ยกพระหัตถ์ปิดพระเนตร(ตา) แต่ปิดรวม ตา หู จมูก ปาก และดวงหน้าซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของกาย ส่วนใจเป็นนามก็ปิดโดยสมมุติ นับเป็นอาการสำรวมอายตนะ ๖  ประการ
ชนิดของพระปิดตาแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด
                ๑. พระปิดตา ชนิดปิดตานั่งยอง ความหมายเดิมคือพระโพธิสัตว์เจ้าในพระครรภ์ เรียกว่าพระมหาอุด หรือเป็นพระปิดทวารทั้งเก้าเต็มภาค ไม่มีคำเรียกอย่างอื่น
                ๒. พระปิดตา ชนิดปิดตานั่งขัดสมาธิยกหัตถ์ปิดทวารทั้งเก้า ความหมายเดิมคือพระเจ้าเข้านิโรธ ควรใช้ศัพท์เรียกว่า “ภควัม”ไม่มีคำว่าพระนำหน้าและไม่มีคำบดีหรือปติตามหลัง จะเรียกภควันต์ก็ไม่ได้ เพราะคำศัพท์หมายถึงพระอิศวรหรือนามแห่งพระพุทธเจ้า ภควัม ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานหมายความถึงพระปิดทวารทั้งเก้าปิดตาคว่ำพระพักตร์ จนมีคำพังเพยว่า”หน้าคว่ำเป็นภควัมเจียวนะ”หมายถึงสาวแสนงอน มองไปหลายตลบ ก็ไม่พบพระปิดตาหน้าคว่ำคำราชบัณฑิตหมายถึง ผู้แปลบาลีท่านจะเป็นนักพระเครื่องด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
                ๓. พระปิดตา ชนิดปิดตานั่งขัดสมาธิยกหัตถ์ทั้งสองขึ้นปิดพระพักตร์ เว้นส่วนอื่น เป็นพระเมตตามหานิยมและลาภผล เรียกว่า “พระควัมปติ”พระปิดตาทั้ง๓ชนิดมีทั้งฝ่ายบู้ ฝ่ายบุ๋น ความหมายมิได้คล้ายคลึงกันเลย ยังมีบุคลบางท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นประเภทเดียวกัน จำต้องสังคายนาให้เห็นชัดสักครั้ง เพราะมิผู้นิยม"พระปิดตา"กันมาก
๑. ๑ พระปิดตามหาอุดโดยสมบูรณ์นั่งยอง หรือพระเจ้าในครรภ์  สร้างโดยรูปแบบบุคคลาธิษฐานของการปิดทวารทั้งเก้า โดยจินตนาการรูปลักษณะของทารกในครรภ์ ซึ่งมีการปิดทวารโดยอัตโนมัติดังนี้
๑ ๑ ๑ ดวงตาทั้งสองต้องไม่มองสรรพสิ่งใดๆ(ปิด ๒ ทวาร)
๑.๑.๒ หูทั้งสองไม่รับฟังสรรพสำเนียงใดๆ(ปิด ๒ ทวาร)
๑.๑.๓ รูจมูกทั้งสองไม่ทำการหายใจ(ปิด ๒ ทวาร)
๑.๑.๔ ไม่เอ่ยปากเจรจากับผู้ใด(ปิด ๑ ทวาร)
๑.๑.๕ ทวารหนักเบาไม่ทำการถ่าย(ปิด ๒ ทวาร)
               รวมทั้งสิ้นเป็นการปิดทวารทั้งเก้าทวารด้วยกัน ไม่เกี่ยวกับการอายตมะเท่าที่ค้นพบนิยมสร้างด้วยเนื้อตะกั่วเถื่อน เช่นพระของหลวงพ่อดำ วัดกุฎิ ปราจีนบุรี สร้างเป็นลักษณะก้อนกลม มีเท้าทังสองข้างโผล่ให้เห็นเพียงเล็กน้อย ดูคล้ายมิใช่องค์พระ นั่นแหละพระเจ้าในครรภ์ อายุยังน้อยประมาน ๓ เดือนเท่านั้น"พระปิดตา ปักเป้า" แสดงให้เห็นว่าสถิตอยู่ในครรภ์ พระปิดตากุมารในครรภ์ อาจารย์เจ๊ก พระปิดตาหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ อาจารย์หลวงพ่อเชย พระปิดตาคุมโปง วัดท่าพระ เนื้อชินปรอท เนื้อผงคลุกรักพบบนเพดานพระอุโบสถวัดพระแก้ววังหลวง สร้างขึ้นที่วัดพระแก้ววังหน้า เนื้อดินผสมผงพบในกรุวัดราชนัดดา และอาจมีที่อื่นอีกพระเครื่องปิดตาในรูปแบบนี้ จะเรียกว่า  ภควัม พระควัมปติ  ไม่เป็นการถูกต้อง เรียกได้เพียงพระมหาอุดหรือพระปิดทวารทั้งเก้าเท่านั้น จึงจะตรงกับความหมาย"พระปิดตา"
การสร้างพระปิดตากุมารในครรภ์ของพระอาจารย์เจ็ก ฐิตธมฺโม มีส่วนประกอบขององค์พระ ดังนี้ 
๑. รกหนา หมายถึง ส่วนที่เป็นฐานพระ นิยมขมวดเป็นรูปวงกลม หรือ แผ่นกลม วางไว้ใต้ก้น หรือ ใต้พระบาททั้งสองขององค์พระ
๒. รกบาง ไม่ปรากฏสัญลักษณ์ในรูปองค์พระ เนื่องจากเป็นส่วนที่บางใสอย่างอากาศธาตุที่ห่อหุ้มอยู่รอบองค์พระ จึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์
๓. น้ำทัง หมายถึง ส่วนที่เป็นขมวดมวยอยู่บนพระเศียรขององค์พระ
๔. ลำไส้ หรือ สายสะดือ หมายถึง ส่วนที่เป็นเส้นที่ลากผ่านกลางหลังขององค์พระ จากด้านซ้ายไปด้านขวา หรือ จากด้านขวาไปด้านซ้าย หรือ เส้นที่ลากต่อจากขมวดมวยบนพระเศียรลงไปทางด้านหน้าจดกับสะดือ เพราะฉะนั้นสายสะดือกับขมวดมวยน้ำทังจึงเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกัน

พระคาถาประจำองค์พระ
"พระปิดตา"

อุมังคะลามหาสัมพุทธานัง ชะละมาลาติมาระภะเว พระคาถานี้ใช้บูชาพระเจ้าในครรภ์แล
๒.๑ พระปิดตานั่งขัดสมาธิ หรือพระเจ้าเข้านิโรธสมบัติ ผิดลักษณะจากทารกในครรภ์ ตามเหตุผลแล้วการเข้านิโรธ ไม่เป็นการปิดทวารอะไร อย่างน้อยยังมีอัสสาสะปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า-ออก ยกเว้นเพียงไม่กล่าวคำพูดและไม่ฉันอาหารเท่านั้น อาจดื่มน้ำ เพราะความต้องการของร่างกาย มิเท่านั้น ยังมีการถ่ายหนักถ่ายเบาจากสิ่งที่ตกค้างหลง เหลือภายในร่างกายตามระบบการขับถ่ายและก็มิใช่นั่งเป็นตัวตอ ทั้ง ๗ วัน ๗คืน ก็ แปลรูปเป็นเนสัชชิกังไปในอิริยาบถสี่ ยืน เดิน นั่ง นอน ล้วนเป็นการปฏิบัติสมาธิทั้งสิ้น การทำสมาธิแบบวิปัสสนาญาณ(มิใช่ฌาน)ล้วนตื่นเบิกบาน รู้ตัวทั่วพร้อม ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ คือสมาธิลืมตาหรือสมาธิพุทธ ตามองเห็นเป็นรูป ตัวเป็นนาม ไปหลับตาแล้วจะรู้อะไร
                ส่วนสมาธิหลับตานั้นมิใช่สมาธิพุทธ เป็นมิฉาสมาธิ หรือสมาธิสากล ไม่เลือกลัทธิเป็นพวกไสยศาสตร์ ไสยะแปลว่านอนหรือหลับพุทธะแปลว่าตื่น การที่ พระพุทธโฆษาจารย์แห่งลังกาทรงนิพันธ์คัมภีร์วิสุทธิมรรค ว่าด้วยการปฏิบัติพระกรรมฐาน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันถึง ๔๐ แบบ ล้วนนอกลัทธิพุทธทั้งสิ้น เพราะอะไรก็เพราะว่ากรรมวิธีนี้เกิดมาก่อนพุทธ และพระพุทธองค์ได้ทรงศึกษากรรมวิธีนี้จากพระอาจารย์สองท่านคืออุทกดาบถ รามบุตร อาฬารดาบส รามโคตร์ ซึ่งทั้งสองท่านมิใช่พุทธแต่เป็นโยคีศึกษาแบบนั่งหลับไปจนถึงอรูปฌานก็ไม่เห็นทางหลุดพ้น จัดเป็นเพียงสมถะมีสมาธิแต่ไม่ถึงขั้นปัญญา มีฤทธิ์สามารถแสดงออกได้ เพ่งกสิณก็ได้ เหาะเหินเดินฟ้ายังได้ เช่น คันธารีฤๅษีและพระเทวทัตซึ่งสำเร็จสมาบัติ ๘ คือรูปฌาม ๔ อรูปฌาม ๔ จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาเลื่อมใสของพระเจ้าอชาติศัตรูพระเทวทัตเหาะได้และแปลงกายเป็น พญานคาราชก็ได้ แต่ขั้นโสดาบันยังไม่ได้คือไปสร้างตัวยืด ไม่ทำตัวหลุด แต่ก็เป็น อุปการะในการทำเสโตสมาธิหรือกระทำวิปัสสนาไม่ต่ำช้าอะไร 
                เมืองไทยเราพอเห็น ใครนั่งหลับตาหรือแสดงฤทธิ์ได้เล็กน้อย ก็ยกย่องเป็นพระอรหันต์เมื่อพระพุทธองค์ ปลีกตัวออกจากอาจารย์ทั้งสองท่านแล้ว ก็ทรงค้นหาทางดับทุกข์จนบรรลุพระอนุตร สัมมาสัมโพธิญาณจากนั้นพระองค์ท่านก็เสด็จออกไปยืนทอดพระเนตรสู่เบื้องบรูพาทิศ หรือทิศตะวันออก ลืมพระเนตรทั้งสองไม่กระพริบตลอด ๗ ทิวาราตี ไม่กลัวแดดเกรงตะวัน ปางนี้เรียกว่าปางถวายพระเนตร ท่านได้สอนไว้แล้วทำตัวอย่างให้ดูท่านผู้ใดยังสงสัยเรื่องสมาธิพุทธลืมตา ว่างๆย่องไปดูพระท่านเดินหลับตาหรือลืมตา เมื่อเดินลืมตานั่งก็ลืมตายืนก็ลืมตา นอนก็ลืมตาได้ เพราะอยู่ในอิริยาบถสี่หลับตานั้นเป็นวิธีของฤๅษี  บรรลุฌาน ๘ ลืมตาเป็นวิธีของพุทธบรรลุญาณ ๑๖ แยกญาณกับฌามให้ออก พระเจ้าเข้านิโรธสมบัติส่วนใหญ่เป็นพระอรหันตาเจ้าเรียนรู้สมาธิพุทธตามคำสอนของพระบรมครู ท่านถือสายกลางอย่าไปคิดว่าเคร่งครัดแบบอัตกิลมถานุโยคะ ซึ่งเป็นการเบียดเบียนตนเอง นั่งนานเมื่อยท่านก็ลุกยืนนานท่านเมื่อยท่านก็ออกเดินจงกลม เดินเมื่อยนักท่านก็นอนตะแคงแบบสีหไสยาสน์ตะแคงขวา เป็นการนอนแบบมีสติในการพิจารณาธรรม
                ถ้านอนตะแคงซ้ายเรียกว่ากามโภคี ใช้ไม่ได้การเข้านิโรธสมาบัติเป็นเพียงการเพิ่มตบะธรรม สำคัญที่สติ ตาก็ดูหูก็ฟัง ไม่ลืมตาแล้วจะไปพิจารณามหาภูตรูป คือธาตุทั้งสี่วัตถุแท่งทึบ โปร่งใสได้อย่างไรเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณรวมเป็นจิตตัวรู้และเป็นนาม จะรู้ตัวทั่วพร้อมได้อย่างไร เพียงแต่ว่าสิ่งที่ผ่านมากระทบอารมณ์จะพิจารณาในธรรมหมวดใด จะเป็นพระไตรลักษณ์ ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา หรือพิจารณาในมหาสติปัถฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม เช่นกายก็สักแต่ว่าเป็นกายไม่ใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา ท่านจะใช้ธรรมสองหมวดยกขึ้นพิจารณา ที่กล่าวว่าวิญญาณ คือธาตุรู้เช่น
     จักขุวิญญาณ (ตา), โสตะวิญญาณ (หู), ฆานะวิญญาณ (จมูก), ชิวหาวิญญาณ (ลิ้น), มันจะไปรู้อะไรมันเป็นเพียงเจตะสิกจิต (จิตตังเจตะสิกกัง) ตาทำหน้าที่เพียงจับภาพแล้วส่งผ่านไปยังสัญญาจะบอกได้ว่ารูปอะไรภาพอะไร จะกล่าวเพียงว่าเห็นเป็นรูปตัว รู้เป็นนาม ได้ยินเสียงเป็นรูปรู้เป็นนามมันออกจะยากอยู่สักหน่อย
                เช่นนี้การเข้านิโรธสมาบัติก็ไม่ใช่การปิดทวารแน่(พระปิดตา) ในเมื่อพระคณาจารย์มีความประสงค์จะสร้างพระมหาอุด บางท่านก็แนะแนวกับช่าง บางท่านก็มิได้สนใจสุดแต่ช่างจะจัดการให้ จึงออกมาหลายรูปแบบตามความรู้ของช่าง จึงอย่าไปยึดติดในรูปเพราะพระมหาอุดหลายชนิดไม่มีการปิดตาเช่น  พระพิจิตรหัวดง พระท่ากระดาน พระร่วงสนิมแดง พระหูยานลพบุรี พระท่ามะปราง ฯลฯ เป็นต้น
                และพระปิดตาวัดหนังของหลวงปู่เอี่ยม ไม่ต้องมีมากแค่อย่างละ 20องค์พอขอให้เป็นของแท้ ลาภผลจะไหลมาเทมาเรียกว่ารับเละแน่นอน ประเภทมีกูไว้ไม่จนเช่นกัน
                พระปิดตาแบบพระเจ้าเข้านิโรธปรมาจารย์ผู้ปลุกเสกมีเจตนาให้เป็นพระมหาอุด จะไปเรียกพระควัมปติไม่ได้ เรียก ภควัม พออนุโลม เรียกพระปิดตาก็ได้ เพียงระบุวัดด้วยรูปแบบแห่งบุคคลาธิษฐานอธิบายแล้ว มิใช่ปิดทวารทั้งเก้าส่วนมากค้นพบสร้างด้วยเนื้อเมฆสิทธิ์ เช่น พระปิดตาวัดอนงคาราม ของหลวงพ่อทับ เนื้อเมฆพัด ปิดตาวัดห้วยจระเข้ ของหลวงพ่อนาค พระปิดตาวัดพะเนียงแตก ของหลวงพ่อทา พระปิดตาหลุมดิน ของหลวงพ่อปล้อง มากมายจำไม่หวาดไม่ไหว พระปิดตา ที่สร้างมีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์เงิน สัมฤทธิ์ทอง
พระคาถาประจำองค์พระ "พระปิดตา"
อุดทัง อัดโท นะโมพุทธายะ
                    ๓. พระปิดตานั่งขัดสมาธิ ยกหัตถ์ทั้งสองขึ้นปิดพระพักตร์ เว้นส่วนอื่นเป็นองค์สมมุติ ของพระอรหันตาเจ้า แต่จะเป็นองค์ใดคงต้องพิจารณากันต่อไป มีความผิดแผกแตกต่างกับ พระปิดตาชนิดที่1 และพระปิดตาชนิดที่2 ทั้งรูปและนาม พระปิดตาสองแบบแรกรูปลักษณ์ไปคนละอย่าง อิทธิคุณออกไปด้านป้องกันคุ้มครอง ทั้งมิได้เป็นองค์แทนของผู้ใด ส่วนแบบที่3 ที่จะกล่าวถึงนี้ อิทธิคุณเน้นหนักไปในทางนิ่มนวล เมตตามหานิยม เสน่ห์ ลาภผล แคล้วคลาด การจัดสร้างเนื้อหาก็แตกต่างกัน ไม่นิยมใช้สัมฤทธิ์เงิน สัมฤทธิ์ทอง เมฆพัด เมฆสิทธิ์ ที่สร้างขึ้นส่วนมากประกอบด้วย เนื้อผงตัวยาคลุกรัก คือผงมหาราชหรือผงอิทธิเจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นผงวิเศษ ประเภทเมตตามหานิยมที่แกะด้วยไม้โพธิ์ กาฝากรักซ้อน บรรจุด้วยพระธาตุสิวลีห่อด้วยกระดาษสาลงพระยันต์ อุดด้วยขี้สูดดินราบ(ชันโรงใต้ดิน) ถ้าแกะด้วยรากชิงหายผี นำไปแช่น้ำมันจันทน์ เสกจนพระลุกขึ้นนั่ง เอาน้ำมันทาตัวล่องหนแล ที่แกะด้วยงาช้างและกระดูกสัตว์ก็พอมีอยู่ แต่ไม่เป็นการถูกต้องเทพสิงจะไม่สถิตในกระดูกสัตว์เดรัจฉานได้เพียงพลังจิตของผู้ปลุกเสกเท่านั้น ที่สร้างด้วยเนื้อโลหะส่วนมากเป็นพวกชินตะกั่ว ความมุ่งหมายของการสร้าง เป็นไปได้ทั้ง บุคคลาธิษฐาน และธรรมาธิษฐาน นิยมเรียกกันว่า “พระควัมปติ”
                พระควัมปติ 
                หมายถึงพระอรหันต์รูปใดในตำนานพุทธสาวกกล่าวว่า ท่านคือพระควัมปติเป็นพระสาวกรุ่นแรกๆ ของพระพุทธองค์ ก่อนอุปสมบทดำรงฐานะอยู่ในขั้นเศรษฐีมีทรัพย์ ระดับเดียวกันกับ ยสมานพ(อ่านยะสะ) เป็นเพื่อนเกลอรักใคร่ชอบพอกันมาก ครั้งเกิดธรรมาพิสมัย จึงพร้อมใจกันอุปสมบทในสำนักของพระบรมศาสดา ภายหลังต่อมาได้บรรลุอรหันต์ทั้งสองรูปท่านพระควัมปติทรงเป็นเอตะทัคคะ 1 ในพระอรหันต์ผู้ทรงเอตะทัคคะ 80รูปในด้านอินทรีย์สังวร ท่านบรรลุซึ่งเตวิชโชหรือวิชชาสาม เชี่ยวชาญในอิทธิวิธี เชียวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน เคยใช้ฤทธิ์ห้ามกระแสน้ำในลำน้ำสรภู ซึ่งไหลเชี่ยวให้หยุดไหลได้ อาการที่สำรวมทั้งภายนอกภายในโดยเคร่งครัดสม่ำเสมอนี้ ทำให้เทพยดาแลมนุษย์พากันเคารพสรรเสริญ ต่อมาได้พากันสร้างรูปของท่านเพื่อสักการบูชาลักษณะการยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์จัดเป็นธรรมาธิษฐาน มิใช่บุคคลธิษฐาน เพราะการสำรวมอายะตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่จำเป็นต้องปิดหน้า"พระปิดตา" แต่เป็นการแสดงความหมายให้ทราบเท่านั้น
                อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า "พระปิดตา"ชนิดนี้คือพระมหากัจจายน์เถระเจ้า ปางอธิษฐานเนรมิตกาย ความเดิมมีว่าท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้าท่านนี้ เป็นเอตะทัคคะในการขยายความย่อให้พิสดาร และเป็นผู้วางหลักสูตรพระบาลีมูลกัจจายน์ คือการสอนพระบาลีไวยากรณ์ในสมัยก่อน เกิดในวรรณะพราหม์ในสกุลกาญจนโคตร ประกอบผิวพรรณวรรณะ อาการแห่งลีลารวมทั้งวรกายละม้ายคล้ายองค์พระบรมศาสดาเจ้า หากดำเนินมาแต่ไกล ผู้คนมักจะจำผิดพากันคิดว่าพระพุทธองค์เสด็จและแม้แต่เทพยดาก็พากันหลงผิด ลีลาสง่างามยิ่งนัก เป็นที่เสน่หานิยมชมชอบของเทพยดาแลมนุษย์ชายหญิงทั้งหลาย และพากันถวายฉายาว่า “ควัมปติ” แปลว่าผู้มีวรกายแลละม้ายคล้ายพระศาสดา (ได้ค้นศัพท์ในพจนานุกรมแล้วไม่มีปรากฏ)
                ในกาลครั้งหนึ่งโสไรยเศรษฐีบุตร พ่อค้าวานิช ได้คุมกองคาราวานไปค้ายังเมืองไกล บังเอิญประจวบเหมาะได้พบเจอกับท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้าก็คิดรำพึงอยู่ภายในไจว่า ภรรยาเรานะนับว่ามีความงามเป็นเลิศ ยังมิอาจเทียบเท่ากับสมณะท่านนี้ หากเราได้ภรรยาเช่นนี้จะปลื้มใจสักเพียงใด พอความนึกคิด สะดุดหยุดลง โสไรยเศรษฐีบุตรพลันกลับกายร่างเป็นเพศหญิงในทันทีทันใด บังเกิดความละอายยิ่งนัก หลบหน้าหลบตาไม่ยอมพบประผู้คน ทั้งไม่ยอมหลับไปยังสถานที่อยู่เดิม ทอดทิ้งบุตรภรรยาและบิดามารดาให้รอคอยด้วยความกระวนกระวายใจ  สุดท้ายหมดเนื้อหมดตัว ไปได้สามีแลได้บุตร๒ คน รวมกับบุตรที่มีอยู่เดิม ๒ คน เป็น ๔ คน ยิ่งฟุ้งซ่านใหญ่กาลเวลาผ่านมาหลายปี จนกระทั้งอยู่มาวันหนึ่งนางก็ได้เห็นท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้า ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ นางจรึงจัดภัตตาหารพร้อมด้วยขันใส่ข้าวสุก ไปคอยดักใส่บาตร และกราบทูลความเป็นไปให้ทราบ อ้อนวอนให้ท่านพระมหากัจจายนะเจ้าจงโปรดช่วยเหลือ ท่านมหากัจจายนะเถระเจ้าจรึงนัดพบหลังจากเสร็จจากการบิณฑบาตและกระทำภัตตกิจเรียบร้อยแล้ว ท่านกล่าวว่านึกไม่ถึงและไม่มีเจตนาแต่ประการใดเพียงแต่มีข้อแม้ว่าหากท่านช่วยอธิษฐานกลับเพศให้ได้ดังเดิมแล้ว โสไรยเศรษฐีบุตร ต้องอุปสมบทเป้นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนาโสไรยเศรษฐีบุตรจึงตกลงรับคำ และกลับเพศให้สมปรารถนาท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้าทรงเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบทให้โดยเรียบร้อย ภายหลังต่อมาพระโสไรย ได้บรรลุอรหัตตผล
                 ท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้าจึงทรงรำพึงว่าอันความสวยความจนทำให้เทพยดาแลผู้คนพากันใหลหลงเป็นของมีโทษ เรียกว่ากามวิตกเป็นหนทางแห่งการมัวหมองเราควรจะแปรเปลี่ยนสรีระเสียใหม่ให้สิ้นซึ่งความสง่างามรำพรึงดังนั้นแล้วท่านก็ทรุดองค์ลงนั่งคู่บรรลังก์ยกหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์อธิษฐานเนรมิตวรกายให้มีรูปร่างอ้วนเตี้ยม้อต้อมีอุทรอันพลุ้ยสิ้นซึ่งความสง่างามลักษณะเช่นนี้เรียกว่าบุคคลาอธิษฐาน มิใช่ธรรมาอธิฐาน ท่านผู้อ่านจะยึดในธรรมาธิษฐานหรือบุคคลธิษฐานหรือจะเชื่อเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งก็สุดแต่ใจเถิด ล้วนเป็นของประเสริฐทั้งสิ้นปรัศนีนี้มักนำปัญหาค้านแย้งมาให้ขบคิด ปัญญาจะได้แตกฉานพระอรหันต์ตามที่กล่าวนี้เป็นคนละองค์ ปรากฏในตำนานพุทธสาวก แลทรงเอตะทัคคะไปคนละแนวถ้าหากเป็นองค์เดียวกันปัญหาจะไม่ยุ่งยาก แต่อย่างไรก็ตาม ท่านพระควัมปติเป็นพระนามตรงและเรียกกันมาแต่โบราณกาลแล้ง สำหรับการแนะแนวถ้าเรานึกบุคคลาธิษฐานท่านก็คือ พระมหากัจจายนะเถระเจ้าถ้าเราคิดไปในแง่ธรรมาธิฐาน ท่านก็คือพระควัมปติคิดไปได้สองแง่สองมุม หรือสองนัยะอย่าไปคิดฟุ้งสร้านติดยึดในรูปนาม นามะรูปังทุกข์นามารูป์อนิจจ์ นามารูปังอนัตตา
สรุปคำว่าพระปิดตา ชนิดของพระปิดตาแบ่งออกเป็น 3ลักษณะ
1.
 พระปิดตามหาอุดโดยสมบูรณ์เรียกว่าพระปิดทวารทั้งเก้านั่งยองหรือพระเจ้าในครรภ์พระปิดตากุมารในครรภ์
2.
 พระปิดตานั่งขัดสมาธิยกหัตถ์ปิดทวารทั้งเก้าความหมายเดิมคือพระเจ้าเข้านิโรธ ควรใช้ศัพท์เรียกว่า ภควัม” ปิดตานั่งขัดสมาธิหรือพระเจ้าเข้านิโรธสมบัติ ผิดลักษณะจากทารกในครรภ์ ตามเหตุผลแล้วการเข้านิโรธไม่เป็นการปิดทวารอะไร
3.
 พระปิดตานั่งขัดสมาธิ ยกหัตถ์ทั้งสองขึ้นปิดพระพักตร์เว้นส่วนอื่น เป็นพระเมตตามหานิยมและลาภผล เรียกว่า พระควัมปติพระปิดตาถึงจะแบ่งตามลักษณะที่กล่าวมาแต่พุทธคุณในองค์พระ(พระปิดตา)อาจจะไม่เป็นแบบที่กล่าวมาเสมอไปอยู่ที่พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างจะบรรจุพุทธคุณอธิษฐานจิตให้พระปิดตามีพุทธคุณตามที่ท่านต้องการ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น