ตำนานแห่งพระสยามเทวาธิราช

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความเชื่อในเทวดา ผู้คุ้มครองพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์จักรี ตลอดจนประเทศชาติให้อยู่รอดปลอดภัยจากภยันตรายต่าง ๆ อย่างใหญ่หลวงมาทุกครั้งทุกยุคทุกสมัย จึงได้เกิดมีการหล่อพระสยามเทวาธิราชขึ้น เพื่อเป็นเทพารักษ์คุ้มครองพระบรมราชวังและประเทศไทย






ประวัติพระสยามเทวาธิราชะนี้เป็นเทวรูปหล่อยืน ทรงเครื่องกษัตริย์ สวมมงกุฎ พระหัตถืขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นจีบ พระดรรชนีเสมอพระอุระ องค์พระสยามเทวาธิราชสถิตอยู่ในเรือนแก้วที่ทำด้วยไม้จันทน์ แบบวิมานเก๋งจีน แล้วมีคำจารึกที่เบื้องหลังเป็นอักษรจีน ซึ่งถ้าแปลเป็น ภาษาไทยจะได้ความว่า "ที่สิงสถิตแห่งพระสยามเทวิราช" ในเรือนแก้วนี้ ถ้าท่านทั้งหลายเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง จะเห็นว่าประดิษฐานในพระวิมานไม้แกะสลัก ปิดทอง พระวิมานตรงกลาง ตรงหน้าพระสยามเทวาธิราชเป็นที่ตั้งเทวารูปคือพระสรัสวดี หรือพระพราหมี เทพเจ้าแห่งดนตรีและขับร้อง พระวิมานองค์ด้านตะวันออก ตั้งเทวรูปพระอิศวรและพระอุมา พระวิมานทางด้านทิศตะวันตก ตั้งพระนารายณ์ทรงครุฑลักษณะของการตั้งรูปเคารพเช่นนี้ ตามเค้าเงื่อนประสงค์จะให้พระสยามเทวาธิราชมีผู้ช่วยเหลือเป็นตรีเทพ หรือที่เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือเทพเจ้าทั้งสามซึ่งเป็นสยัมภูอันเป็นที่เคารพสู.สุดของฝ่ายศาสนาฮินดู นั่นเอง



ส่วนองค์พระสยามเทวิราชนั้นทรงมีมเหศักดิ์สูงเยี่ยมเทียบสยัมภูนั้นแต่ในภาค หนึ่ง องค์พระสยามเทวาธิราชทรงเป็นเทวดาคุ้มครองราชย์วงศ์จักรีด้วย ซึ่งสีของราชวงศ์จักรี คือ สีเหลืองทองดอกบวบ อันเป็นสีพระราชอิสริยาภรณ์สูงสุด คือสายสะพานตราจักรี ธงมหาราชขององค์พระมหากษัตริย์เป็นสีเหลือง คือ ดาวเคราะห์พฤหัสบดีที่เราพูดตามหลักโหราศาสตร์ว่าประเทศไทยของเรานี้ อยู่ในอิทธิพลของดาวพระเคราะห์คือดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวประจำเมืองไทยและดาวพฤหัสบดีคือภาคหนึ่งของพระสยามเทวาธิราช




การสร้างรูปพระสยามเทวาธิราชชิ้นนี้ก็เพื่อประสงค์ให้มีพระภูมิคุ้มบ้านคุ้ม เมืองนั่นเอง พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นด้วยทรงระลึกว่าบ้าน เมืองย่อมมีเทวดาคุ้มครองรักษา รวมทั้งพระราชวงศ์จักรีด้วย ทั้งนี้เป็นความเชื่อถือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงสร้างพระสยามเทวาธิราชนี้ขึ้นมาเพราะทรงเชื่อว่าเทวดาเป็นสิ่ง ที่มีจริง ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีสังเวยเทวดา ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้รื้อหมู่พระที่นั่งพุทธมหามนเทียรออก และโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณจนทุกวันนี้

พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวิราชในรัชกาลปัจจุบัน

พระราชพิธีบวงสรวพระสยามเทวาราชาธิราชในปัจจุบัน กำหนดไว้ในปฏิทินหลวงในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตาม ประเพณีนิยมว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณอนุวัติ ตามราชประเพณีที่ทำในรัชกาลที่ 4 ที่ 5 และรัชกาลต่อ ๆ มา เจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวังจะเชิญพระสยามเทวาธิราช เทวรูป พระสรัสวดี หรือพระพราหมี พระอิศวร พระอุมา พระนารายณ์ ทรงครุฑ จากพระวิมานลงมาประดิษฐานที่โต๊ะสังเวยหน้าพระเจ้าที่กับเจว็ดมุกรูปเจ้า กรุงพาลี จากหอแก้วพระภูมิมาประดิษฐานที่โต๊ะร่วมสังเวยด้วย

เครื่องสังเวยประกอบด้วย หัวหมู เป็ด ไก่ เมี่ยงส้ม ทองหยิบ ฝอยทอง ส้มเขียวหวาน องุ่น มะตูมเชื่อม มะพร้าวอ่อน กล้วยหอมจันทร์ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ผลทับทิม เทียนเงิน เทียนทอง พระราชพิธีบวงสรวงสังเวยพระสยามเทวิราชในปัจจุบันนี้ ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกรณียกิจอื่นไม่สามารถเสด็จพระราช ดำเนินในพระราชพิธีนี้ได้ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอหรือพระราชวงศ์ผู้ใหญ่เสด็จมาทรงสังเวยพระสยามเทวิ ราชแทนพระองค์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระสยามเทวิราช แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวย เสร็จแล้วเสด็จไปทรงจุดธูปเทียนบูชาเทวดา และทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวยเทวดา (เครื่องสังเวยเทวดาเหมือนกับเครื่องสังเวยพระสยามเทวาธิราช) ที่โต๊ะหน้าหอพระสุราลัยพิมาน ขณะที่ทรงจุดธูปเทียนถวาย สักการะพระสยามเทวาธิราช และทรงจุดธูปเทียนที่โต๊ะเครื่องสังเวยเทวดานั้น ชาวพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์ทำเพลงสาธุการ ศิลปินกรมศิลปากรรำถวายมือ จบแล้วแสดงละครเมื่อถวายแสดงจบแล้ว พระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดง แล้วเสด็จกลับ


     คนไทยเราเชื่อกันมาแต่โบร่ำโบราณแล้วว่ามีเทวดาผูปกปักรักษาบ้านเมือง ในสมัยกรุงสุโขทัยมีพระขะพุงผีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เชื่อกันว่าถ้าไหว้ดีพลีถูกบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าไหว้ดีพลีไม่ถูกบ้านเมืองก็ล่มจม พระขะพุงผีนี้เข้าใจกันว่าน่าจะเป็นเทวรูปศิลาของเทวนารีซึ่งปัจจุบันเรียกว่าแม่ย่า สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงให้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมารดาคือนางเสือง
            ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความเชื่อว่าเทวดาที่คุ้มครองบ้านเมืองคือ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระหลักเมือง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงให้ความหมายของพระเสื้อเมืองว่ามีมัลลิตารีเพาเวอร์ คืออำนาจทางทหาร พระทรงเมืองเป็นซีวิลพาวเวอร์ คืออำนาจของข้าราชการพลเรือน ส่วนพระหลักเมืองเป็นจูดิคัลพาวเวอร์ คืออำนาจตุลาการ ซึ่งสื่อแสดงว่าบ้านเมืองจะร่มเย็นได้ ก็ต้องประกอบด้วยความเข้มแข็งทางทหาร การปกครองที่ดีงาม และกระบวนการด้านความยุติธรรมอันถูกต้องเที่ยงตรง อย่างไรก็ตามในส่วนของชาวบ้านโดยทั่วไปยังให้ความเคารพยำเกรงต่อพระแก้วและพระกาฬ จนมีคำสาบานที่อ้างพระแก้วพระกาฬอย่างติดปาก พระแก้วก็คือพระแก้วมรกตซึ่งถือได้ว่าเป็นของคู่บุญพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเป็นของคู่บ้านคู่เมืองโดยแท้ เพราะชื่อกรุงรัตนโกสินทร์ก็หมายถึงสถานที่ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต นั่นเอง ส่วนพระกาฬหรือพระกาฬไชยศรีเป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำดวงวิญญาณมนุษย์ไปยมโลก
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่บังเอิญมีเหตุให้รอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ ชะรอยคงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นรูปสมมุติขึ้น แล้วหล่อด้วยทองคำแท่ง มีลักษณะแบบเทวรูปมีความสูง 8 นิ้ว ทรงเครื่องอย่างเทพารักษ์ ทรงมงกุฏ ประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นในท่าจีบเสมอพระอุระ ประทับในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ มีลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน และถวายพระนามว่าพระสยามเทวาธิราช  โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง



           
 พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูงทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคารและวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดฯ ให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันตรงกับวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณด้วย ทั้งเป็นที่ร่ำลือกันว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเคารพนับถือพระสยามเทวาธิราชเช่นเดียวกับพระราชบิดา นอกจากจะโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในเครื่องทรงแบบพระสยามเทวาธิราชขึ้นองค์หนึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เพื่อทรงสักการะแล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้นำรูปพระสยามเทวาธิราชประทับนั่งใส่ในด้านหลังของเหรียญกษาปณ์ ราคาเสี้ยว อัฐ และโสฬส ซึ่งออกใช้ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย
            ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เสด็จแทนพระองค์ไปทรงถวายเครื่องสังเวยพระสยามเทวาธิราช  ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 และระหว่างงานฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ในปี พ.ศ.2525 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชออกมาให้ประชาชาชนทั่วไปได้สักการบูชาเป็นครั้งแรก
            หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิสกุล ได้ทรงบันทึกเรื่องพระสยามเทวาธิราช มีความตอนหนึ่งว่า ...เหตุการณ์ต่าง ๆ ดังเราได้ประสบมาด้วยตนเอง ยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็น ๆ ว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นมีจริง เราจงพร้อมใจกันอธิษฐาน ด้วยกุศลผลบุญที่เราทำมาแล้วด้วยดี ขอให้เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ จงได้ทรงคุ้มครองป้องกันภัย และโปรดประสิทธิ์ประสาทความสมบูรณ์พูนสุข ให้แก่ประชาชนชาวสยามทั่วกันเทอญ...

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น