ตำนานการบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียน



พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่ออุตตมะ

การบูชามี 2 อย่างคือ


1. อามิสบูชา


2. และปฏิบัติบูชา


การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของมี ธูป เทียน ดอกไม้
เป็นต้น เรียกว่า อามิสบูชา


การบูชาด้วยการตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนเรียกว่า
ปฏิบัติบูชา


อามิสบูชานั้นเราใช้ธูป 3 ดอกบูชาพระพุทธ
ใช้เทียน 2 เล่มบูชาพระธรรม ใช้ดอกไม้บูชาพระสงฆ์


จะขอเล่าถึงที่มาของการถวายธูป เทียน ดอกไม้
บูชาพระรัตนตรัยคือ รัตนตรัยบูชานั้น แต่เดิมได้แยกกันบูชาโดยแต่ละบุคคลทำขึ้นเพื่อบูชาพระพุทธองค์
ดังจะได้กล่าวดังนี้


เทียน


นางกีสาโคตรมี เป็น คนแรกที่คิดทำเทียนขึ้น
 


นางได้นำเทียนพรรษาไปถวายพระพุทธองค์ ณ
วัดเชตะวัน เทียนที่นางทำขึ้นนั้นเป็นเทียนสีผึ้งสีทอง ดังที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้


ธูป

นางมังคลิกา เป็นคนแรกที่คิดทำธูปขึ้นโดยทำจากดอกจันทน์เป็นธูปใหญ่


เมื่อเวลาจุดจะหอมไปทั่วบริเวณวัด นางทั้งสองนี้ได้ร่วมกันถวายธูปเทียนแด่พระพุทธเจ้าวิปัสสี
นางมังคลิกานั้น ในอดีตชาติเคยบูชาด้วยธูปแก่นจันทน์มาก่อน ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะ
ทำให้นางเกิดมามีรูปร่างสวยงาม จิตปัญญาดี มีบริวารมาก ปัจจุบันเมื่อเป็นอัครมเหสี
ก็มีรูปงามเช่นกัน แล้วนางก็ได้เป็นภิกษุณีในสมัยพระเจ้าโคตรมะ


ดอกไม้

นางปทุมเทวี นาง ได้ถวายดอกบัวมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะ
จนถึงสมัยพระพุทธองค์นางก็ยังคงถวายดอกบัวดังเดิม นับรวมได้ 40
,000 กว่าดอก นางจึงได้ชื่อว่า ปทุมมะเทวีดอกบัวที่นางถวายนั้นมีสีขาวนวล สวยสะอาด สีไม่ใช่เหลือง ไม่ใช่แดง
งดงามมาก


ด้วยอานิสงส์ของการบูชานี้ นางไม่เคยตกอยู่ในอบายภูมิ
ซึ่งนางได้เกิดมาแล้วหลายภพหลายชาติ ตายจากมนุษย์ก็ขึ้นสวรรค์
ลงจากสวรรค์ก็มาเป็นมนุษย์ จะเป็นผู้มีศีล มีสมบัติมาก เกิดในสกุลใหญ่
แม้กระทั่งได้เป็นอัครมเหสี บ้างก็มี


การบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ ธูป เทียน นี้
แต่เดิมบูชาแยกกันดังกล่าว มารวมกันขึ้นเมื่อครั้งพระพุทธองค์เทศน์มหาเวสสันดร
ในกลางเดือน 4 ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ดังว่าครั้งนั้นมีการถวายดอกไม้ถึง 7 วัน 7 คืน พระพุทธองค์ตรัสว่า


มหาชนทั้งหลายที่บูชาพระรัตนตรัยด้วย ธูป
เทียน ดอกไม้ด้วย คนเหล่านั้นเมื่อตายแล้วจะได้เกิดบนสวรรค์ มีรูปร่างสวยงามสะอาดเหมือนดอกไม้
มีเสียงไพเราะ ตัวหอม ปากหอม


ด้วยดอกไม้ หรือ บุปผะเป็นของประเสริฐ
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีสีต่างๆ กัน สวยงามและหอม


เมื่อเราพิจารณานำเอาสิ่งดีเช่นนี้ไปบูชาพระนั้นเป็นเจตนาดีเกิดอานิสงส์ที่
ดี จึงไม่ควรสงสัย


ฉะนั้นการที่เราซื้อดอกไม้หรือเก็บดอกไม้มาบูชาพระเราจะเลือกดอกไม้ที่สวย
สะอาด ด้วยเจตนาที่สะอาด เพื่อบูชาพระรัตนตรัย กุศลจิตจึงบังเกิด บุญกุศลก็เกิด


แต่ถ้าเอาดอกไม้ที่จะบูชาพระมาวางทิ้งไว้ให้เหี่ยวเฉา
ไม่สวย ไม่สะอาด ผู้มาพบเห็นก็เสียเจตนา พอเสียเจตนาอะไรๆ ก็เสียไปหมดบุญกุศลจะเกิดได้อย่างไร


ครั้งต่อมาเมื่อเกิด ตติยะสังคายนาหลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว คณะพระภิกษุอรหันต์ทั้งหลายได้มาประชุมกันว่า


การบูชาพระรัตนตรัย ด้วยธูป เทียน ดอกไม้
ถือเป็นอามิสบูชาหรือไม่


ซึ่งตามจริงแล้วการที่บุคคลนำดอกไม้
ธูป เทียน มาบูชาพระ หรือนำอาหาร หรือเครื่องบูชาใดๆ
มาถวายพระนั้นเป็นอามิสบูชาทั้งสิ้น


แต่ถ้าพิจารณาถึงเจตนาของบุคคลนั้นๆ แล้ว ไม่ใช่อามิสบูชา


เพราะการบูชาเหล่านั้นไม่ใช่เพื่อให้พระพุทธรักตน
หรือให้พระสงฆ์รักตน หรือทำตามอย่างผู้อื่นด้วยเห็นเป็นของสนุก ของทำตามธรรมเนียม กุศลจิตไม่เกิด


แต่การทำด้วยเจตนาที่จะบูชาพระรัตนตรัยด้วยการตั้งจิตอธิษฐานเพื่อเป็นสิริ
มงคลแก่ตนเอง


ฉะนั้นจึงพิจารณาจาก เจตนา เป็นหลัก เมื่อเจตนาทำบุญ เกิดกุศลจิตอย่างเดียวก็ได้บุญ
ซึ่งอานิสงส์ของการบูชาด้วยดอกไม้นี้เป็น
บริสุทธิ์เจตนาคือเจตนาสะอาด


เจตนาไม่มีอามิสะ จึงไม่เป็นอามิสบูชา


ดังเช่น พระเจ้าพิมพิสาร นำดอกไม้ทำด้วยเงินแท้ๆ
ทองแท้ๆ ไปถวายพระพุทธองค์ ณ วัดเชตะวัน ด้วยเห็นว่าดอกไม้จริงๆ นั้นจะเหี่ยวเฉาไม่คงทนเท่า
และเห็นว่าเงินแท้ๆ ทองแท้ๆ นั้นเป็นสิ่งมีค่าสวยงามทนทาน จึงนำมาประดิษฐ
์เป็นดอกไม้ถวายพระพุทธองค์ ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงรับด้วยทรงพิจารณาถึงเจตนาว่าเป็นเจตนาดี
เจตนาบริสุทธิ์ถวายไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ด้วยกลัวว่าจะเหี่ยวสูญไป การถวายดอกไม้ซึ่งทำด้วยเงินแท้ๆ
ทองแท้ๆ ของพระเจ้าพิมพิสารนี้ จึงไม่เป็นอามิสบูชา เพราะพิจารณาจาก
เจตนาเป็นใหญ่


การบูชาพระรัตนตรัยนั้นไม่ว่าเป็นสมัยเมื่อพระพุทธองค์ยังมีชีวิตอยู่หรือ
ปรินิพพานไปแล้ว ก็ยังคงมีพระอรหันต์อยู่ บุคคลผู้ถวายธูป เทียน ดอกไม้เหล่านี้


ด้วยอานิสงส์จะไม่ต้องตกอยู่ในอบายภูมิ แม้เมื่อเป็นมนุษย์จะไม่มีทุกข์
จะมีสุข มีสมบัติ มีจิตใจอ่อนโยน มีรูปร่างสวย แม้เมื่อเป็นเทวดาจะได้อยู่ในภูมิจาตุมหาราชบ้าง
ดุสิตบ้าง


เพราะในการบูชาเราจุดธูป เทียน ตั้งจิตอธิษฐาน
คำอธิษฐานนั้นๆ จะสำเร็จได้ก็ด้วยเจตนาของผู้นั้นนั่นเอง


ดังเช่นในสมัยพระพุทธองค์มีพระเถระรูปหนึ่ง
นามว่า
ยสะกิตเถระบิดาไปตายอยู่ในป่าระหว่างการเดินทาง
เมื่อท่านทราบได้ไปนำศพกลับมาเพื่อทำพิธีเผา ได้วางศพไว้ในศาลามีผู้คนมากมายนำดอกไม้มาวางบนศพเพื่อแสดงความเสียใจ


ท่านได้นำดอกไม้มาร้อยเป็นพวงเกิดเป็น พวงหรีด ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นำไปเคารพศพบิดาด้วยเจตนา จะให้บิดาผู้ล่วงลับนั้นมีจิตสงบสบาย
เกิดชาติหน้าจะได้งามสะอาด พร้อมพิจารณาว่ารูปัง อนิจจัง


ด้วยเจตนาของยสะกิตเถระนี้
บิดาจึงไปเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีปราสาทงดงามเป็นพุ่มเหมือนดอกไม้ 3 พุ่ม


ฉะนั้น จงพิจารณาว่า
การที่เรานำพวงหรีดไปเคารพศพนั้นควร ตั้งจิตให้ดี มิใช่เป็นการกระทำตามผู้อื่น
หรือตามธรรมเนียมเท่านั้น


ดังนั้น ทุกเช้า เย็น
เมื่อบูชาพระรัตนตรัยด้วยธูป เทียน ดอกไม้ จงตั้งเจตนาให้ดี ด้วยเจตนาสะอาด
และตั้งจิตอธิษฐาน จะตัดเวรตัดกรรมเพื่อไม่ให้มีศัตรูใดๆ และ
ให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป จะเกิดอานิสงส์ตามนั้นก็ด้วย
เจตนา
เป็นใหญ่ดังธรรมะ ที่ยกมาแสดงทั้งสิ้น นี้แล.

การกรวดน้ำ
นอกจากนี้ หัวใจของการทำบุญทุกครั้ง ต้องแผ่แมตตา
และอุทิศส่วนบุญด้วย โดยสมเด็จโตท่านสอนวิธีแผ่เมตตาแบบง่ายๆ ไว้ดังนี้ครับ
ไม่ต้องท่องเป็นภาษาบาลีให้ยุ่งยากก้อได้



"ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ไปให้ทุกรูปทุกนาม


ทั้ง 20 ชั้นพรหมโลก ๖ ชั้นเทวะโลก
มนุษยโลก มารโลก ยมโลก อบายภูมิ


ทั้ง 4 นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน
และในหมื่นโลกธาตุกับอีกแสนจักรวาลพิภพ


ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมุษย์ รูปวิญญาน
และสรรพสัตว์ทั้งหลาย


ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า


ขอให้ทุกรููปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย


ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงโมทนาในส่วนกุศลนี้ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เทอญ"

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น