เบญจภาคี พระเนื้อชิน


เบญจภาคีพระเนื้อชิน ( พระยอดขุนพล )
         พระชุด เบญจภาคี เนื้อชิน พระพิมพ์ประทับนั่งปางมารวิชัย หรือสมาธิ อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีฐานรองรับ (ฐานบัวหรือฐานสี่เหลี่ยม) ได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างมากในด้านความโดดเด่น ด้านมหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี  เช่น พระร่วงหลังรางปืน พระร่วงหลังลายผ้า พระหูยาน ลพบุรี พระท่ากระดาน พระชินราชใบเสมา พระมเหศวร ซึ่งนับเป็นสุดยอดของพระเนื้อชิน



๑.พระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุศรีสัชนาลัยจ.สุโขทัยศิลปะเขมรยุคบายน มีพุทธลักษณะเป็น พระยืนประทานพรอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นลายกระหนกแบบซุ้มกระจังเรือนแก้ว ด้านหลังมีลักษณะพิเศษ คือ มีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาวตลอดองค์ พระ ปรากฏพุทธคุณทางแคล้วคลาดจากภยันตรายในเรื่องปืน จึงเรียกกันต่อๆ มาว่า "หลังรางปืน"










๒.พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรีเป็นพระร่วงนั่ง ศิลปะลพบุรี อายุการสร้างเกินกว่า ๗๐๐ ปีมีทั้งหมด ๓ พิมพ์คือ พิมพ์ ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก โดยแบ่งตามขนาดที่ลดหลั่นกันไป และแยกตาม ศิลปะ คือ พิมพ์หน้ายักษ์ ศิลปะบนใบหน้า ดูค่อนข้างเหลี่ยม และพิมพ์หน้า มงคล เค้าใบหน้าจะมนกว่า








๓.พระชินราชใบเสมา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลกตั้ง ชื่อตามนามพระประธานของวัด คือ พระพุทธชินราช สันนิษฐานว่าสร้างสมัยพระ ธรรมราชาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อครั้งครองเมืองพิษณุโลกเป็นศิลปะแบบอู่ ทอง พระพักตร์เข้ม แฝงด้วยอำนาจ เอกลักษณ์เฉพาะขององค์พระคือ พระศก (เส้น ผม) มีลักษณะเป็นเส้นๆ









๔.พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรีเป็นพระศิลปะอู่ทอง เอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ เป็นพระที่มีสองหน้า แต่ละหน้าขององค์ พระสวนกัน มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ ได้แก่ พิมพ์หน้าใหญ่ พิมพ์หน้า กลาง พิมพ์หน้าเล็ก และพิมพ์พิเศษ คือ " พิมพ์มเหศวร" จะพบเฉพาะ พระมเหศวร กรุวัดพระศศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เท่านั้น จะไม่พบในกรุอื่น หรือจังหวัดใดเลย







 
๕.พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ ถื อว่าเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี จนได้รับฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำกลอง ปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะเค้าพระพักตร์เคร่งขรึม น่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และ พระหนุแหลมยื่นออกมา มีอายุการสร้าง กินกว่า ๕๐๐ ปีและพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง ๑๑ ตน แต่มีฤๅษีอยู่ ๓ ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัยฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น