ประวัติการสร้างพระสมเด็จ

การสร้างพระสมเด็จ


เมื่อครั้งที่สมเด็จโตได้จาริกไปที่เมืองพระตะบอง มีเจ้าเขมรองค์หนึ่ง ซึ่งสนิทกับเจ้าพระคุณสมเด็จ ได้ปรารภขอให้ท่านสร้างพระเครื่อง ของท่านขึ้นเอาไว้เคารพสักการบูชา และเป็นเครื่องระลึกถึงท่านด้วย ดังนั้นหลังจากที่สมเด็จกลับจากพระตะบอง จึงเริ่มสร้างพระสมเด็จขึ้นเป็นครั้งแรก






ผงวิเศษ 5 ประการ


คือ ผงอิธะเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และ ผงตรีนิสิงเห ผงทั้งห้านี้เรียนยากนักหนา หลวงปู่หินวัดระฆัง กล่าวว่า พระครูธรรมราช (เที่ยง) วัดระฆัง มีชีวิตอยู่ทันและเป็นศิษย์อายุมากกว่า พระธรรมถาวร และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (มรว.เจริญ) เล่าว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ได้เล่าเรียนการทำผง วิเศษ 5 ประการนี้ กับพระอาจารย์ แสง วัดมณีชลขันธ์ เรียนกันที่จังหวัดอยุธยา สมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระคุณก็เคยหนีมาอยู่กับพระอาจารย์แสงที่อยุธยา
 


จำนวนการสร้างพระสมเด็จ

ครั้งแรกสร้างได้ครบ 84,000 องค์ แต่ครั้งหลังที่นำไปบรรจะที่วัดเกศไชโย อ่างทอง สร้างได้ไม่ครบ มีการนำพระที่สร้างครั้งแรกเป็นพิมพ์ 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น ไปรวมให้ครบ เพื่ออุทิศกุศลให้โยมมารดา

ผู้ช่วยเหลือการสร้างพระสมเด็จ

หลวงปู่หิน วัดระฆัง กล่าวตามที่ได้ทราบจากพระธรรมถาวร ว่า ผู้ช่วยบดผงและพิมพ์พระสมเด็จนั้น มีดังนี้
1. พระธรรมถาวร
2. หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด สมัยที่ยังทรงเป็นที่ หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์
3. พระธรรมทานาจารย์ แนบ
4. พระธรรมนุกูล (หลวงปู่ภู)
5. พระครูเปี่ยม
6. พระภิกษุ สามเณร เจ้าอาวาสในเขตที่ขึ้นกับเจ้าพระคุณ ตลอดจนชาวบ้าน และชาวจีนสำเพ็ง


วัสดุที่ใช้สร้างพระสมเด็จ

หลวงศรีบาญ กล่าวว่า ได้รับทราบจาก หลวงศุภศิลป์ พระนัดดา (หลาน) ของเจ้าฟ้าอิศราพงษ์ (ต่อมาเป็ฯ สมเด็จ กรมพระบำราบปรปักษ์ )อธิบดีกรมช้างวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า เสด็จปู่ของท่าน เป็นผู้หนึ่งที่ทรงออกแบบ พิมพ์พระสมเด็จ ท่านทรงประทานเล่าว่า มวลสารที่ใช้สร้างพระสมเด็จส่วนใหญ่เป้น ปูนขาว นอกจากนั้นเป็น ข้าวสุก และกล้วย ส่วนน้ำมันตังอิว นั้นใช้ผสมให้เนื้อทนทาน (แนะนำโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัยช่างทองพระจอมเกล้า)
การโขลกเนื้อผสม กระทำต่อหน้าเจ้าพระคุณสมเด็จ โดยเฉพาะเวลาท่านฉันเพล เจ้าพระคุณจะโรยผงวิเศษ ลงในครกใหญ่ใบหนึ่งที่มีมวลสารอยู่แล้ว เมือตำผสมผงวิเศษเข้ากันแล้ว เจ้าพระคุณจะควักออกมาแบ่งเท่า ๆ กันใส่ ในครกอื่น แล้วจึงนำมากดพิมพ์ต่อไป
 
เนื้อพระสมเด็จ

1.เนื้อผงใบลานเผา ทำน้อยมากเพราะเปลืองผงใบลาน เจ้าพระคุณจะนั่งจานใบลานตลอดเวลา พอมากๆ เข้าก็เอามาสุมไฟ คนที่เห็นก็ว่าท่านบ้า เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ มีทั้งโพธิ์เมล็ด และโพธิ์ใบ ท่านใช้ผสมในพระเนื้อปูนปั้นด้วย
2.เนื้อชานหมาก พระอาจารย์ขวัญ กล่าวว่า ท่านสร้างพระเนื้อชานหมาก คู่กับเนื้อใบลานเผา แต่เนื้อชานหมาก เป็นพิมพ์ทรงพระประธาน (ทั้ง 2 เนื้อ เจ้าพระคุณได้ถวายรัชกาลที่ 5 และได้ทรงแจกข้าราชการในปี 2416 ปีระกาป่วงใหญ่ หลังสมเด็จมรณะ 1 ปี)
3.เนื้อปูนน้ำมัน เหมือนพิมพ์ทรงนิยม แต่เนื้อฉ่ำคล้ายมีน้ำมันอยู่ แต่หาหลักฐานการสร้างไม่ได้
พิมพ์พระสมเด็จ

1.พิมพ์ปรกโพธิ์หลังติดแผ่นกระดาน ของวัดระฆัง มักลงรักน้ำเกลี้ยง หรือ ลงทองล่องชาด หลังมีกระดานติดอยู่ ตามประวัติ เจ้าพระคุณ ได้ติดไว้กับแผ่นกระดาน แต่มรณภาพก่อน เจ้าสัวสอน หวยกข.สมัยรัชกาลที่ 5 (คนละคนกับเจ้าสัวหง) ได้เอาไปติดที่หน้าจั่วบ้านเพื่อเป็นศิริมงคล เมือเจ้าสัวสอนเสียชีวิต ญาติได้รื้อบ้านถวายวัดจักรวรรดิ ต่อมามีคนแกะพระออกจากกระดาน แต่แตกเสียหายจ จึงตัดไม้ตามขนาดพระแล้วฝนกระดานให้บาง
2.พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร (พิมพ์ไกเซอร์) เป็นพิมพ์ที่เจ้าพระคุณแกะแม่พิมพ์เอง พระดูเทอะทะ โบราณ คราวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป พระเจ้าไกเซอร์ เยอรมัน ทรงเห็นแสงเรืองๆ ออกมาจากกระเป๋าเสื้อของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงถามว่าในกระเป๋ามีอะไร สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงหยิบพระสมเด็จออกมา พระเจ้าไกเซอร์แปลกพระทัยมาก รับสั่งว่า ปูนหรือ ประหลาดจริงมีแสงสว่างได้ จึงได้ทรงถวายไป และได้รับเกียรติว่า พิมพ์ไกเซอร์แต่นั้นมา


พิมพ์ทรงพิเศษ

พระธรรมถาวรเคยเล่าว่า ครั้งแรกทีเดียว เจ้าพระคุณสมเด็จ สร้างพระแบบ หลังเบี้ย ก่อนต่อมาจึงสร้างแบบสี่เหลี่ยมดินเผา และเนื้อตะกั่วถ้ำชา แต่คนไม่นิยมเหมือนเนื้อผง จึงเลิกสร้างไป และเมื่อแรกๆนั้น เจ้าพระคุณได้ถ่ายทอดแบบพระที่เป็นที่นิยมมาก่อนเช่น พระขุนแผน พระนางพญา พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคนมาเสนอแบบอีกมากมาย เช่น แบบใบโพธิ์ แบบหลังเบี้ย แบบหลังไข่ผ่า แบบจุฬามณี (รูปพระเกศธาตุเจดีย์ มีม่านแหวก ไม่มีองค์พระ) รวมแบบแปลกๆ เหล่านี้ ได้ทั้งหมด 73 แบบ

แบบพิมพ์ทรงพิเศษวังหน้า หลวงศุภศิลป์ เล่าว่า เจ้าฟ้าอิศรพงศ์ (สมเด็จกรมพระบำราบปรปักษ์)เสด็จปู่ทวดของท่านได้เคยอออกแบบ พระสำเด็จเพื่อสร้างถวาย เจ้านายวังหน้า หม่อมเจ้าประสิทธิ์ศักดิ์ จรูญโรจน์ ทรงมีพระสี่เหลี่ยมขนาดเขื่อง เนื้อผงใบลานเผาอยู่ 2 องค์ เป็นการสร้างแต่จำนวนน้อยและแตกหักเสียมาก ในการสร้างในระยะเริ่มแรก ไม่นิยมโดยทั่วไป
พระหลวงพ่อโต เจ้าพระคุณสมเด็จได้สร้างก่อนพระสี่เหลี่ยม แต่เป็นเนื้อดินเผา ขนาด 1 ใน 3 ของหลวงพ่อโต บางกระทิง อยุธยา ค่อนข้างชะลูด ยอดแหลม ไม่ป้านเหมือนอยุธยา องค์พระไม่ล่ำสันขึงขัง สร้างเมื่อครองสมณศักดิ์ที่พระธรรมกิตติ โดยติดกระดานไว้จะประดับโบถ์วัดระฆัง ภายหลังเมื่อท่านสิ้นแล้วมีคนแกะเอาไปหมดเขาว่าดีทางคงกระพัน

ในเวลาเย็น หลังการทำวัตรสวดมนต์แล้ว ท่านเจ้าพระคุณจะเอาพระสมเด็จ ที่ตากแห้งแล้วใส่บาตรปลุกเสกทุกวันท่านจำวัดที่หอสวดมนต์ บนนั้นจึงมีพระบาตรพระตั้งอยู่เกลื่อนกลาด พระอาจารย์ขวัญกล่าวว่าท่านให้พระช่วยกันปลุกเสกทุกวัน

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น